ต้นประดู่ป่า
การใช้ประโยชน์
ประดู่มีเนื้อไม้สีแดงอมเหลือง เสี้ยนสนเป็นริ้ว เนื้อละเอียดปานกลาง มีลวดลายสวยงาม ใช้ทำเสา พื้นต่อเรือ เครื่องเรือน เครื่องดนตรี แก่นสีแดงคล้ำใช้ย้อมผ้า และเปลือกให้น้ำฝาดใช้ฟอกหนัง
ประดู่เป็นพันธุ์ไม้ที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระราชทานเพื่อปลูกเป็นมงคลประจำจังหวัดชลบุรี เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2537 ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ นอกจากนี้ยังเป็นต้นไม้และดอกไม้ประจำจังหวัดชลบุรีและจังหวัดระยอง
ชื่อเรียกตามท้องถิ่น
ดู่ หรือ ดู่ป่า ภาคเหนือฉะนอง เชียงใหม่จิต๊อก ไทใหญ่-แม่ฮ่องสอนเตอะเลอ กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอนประดู่ หรือ ประดู่ป่า ภาคกลาง
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์[แก้]
ลำต้นสูง 15-30 เมตร หุ้มด้วยเปลือกหนาสีน้ำตาลซึ่งแตกสะเก็ดเป็นร่อง ลึก มีนํ้ายางมาก เรือนยอดเป็นพุ่มกลมทึบ กิ่งก้านมักไม่ห้อยระย้าอย่างประดู่บ้านใบเป็นใบประกอบรูปขนนกเรียงสลับ ใบย่อยเยื้องสลับกัน 4-10 ใบ รูปไข่ถึงรูปขนาน กว้าง 2.5-5 เซนติเมตร ยาว 5-15 เซนติเมตร ปลายเป็นติ่ง โคนมนดอกมีสีเหลือง กลิ่นหอม ออกเป็นช่อยาว 10-20 เซนติเมตร ตามง่ามใบ ดอกจะออกช่วงมีนาคม-พฤษภาคม ช่อดอกมีขนาดใหญ่ แต่ไม่แตกกิ่งก้านแขนงมากอย่างประดู่บ้าน
ผลมีลักษณะเหมือนรูปโล่แบนบาง ตรงกลางนูน เส้นผ่าศูนย์กลาง 6-10 เซนติเมตร ผลใหญ่กว่าประดู่บ้านมาก และมีขนปกคลุมทั่วไป การขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด
ถิ่นที่อยู่
ประดู่ชนิดนี้เป็นพรรณไม้พื้นเมืองในอินเดียตะวันออกเฉียงเหนือ, พม่า, ลาว และเวียดนามและเป็นพรรณไม้พื้นบ้านดั้งเดิมของไทยในไทยพบตามป่าเบญจพรรณและป่าเต็งรังในทุกภาค ยกเว้นภาคใต้ ประดู่บ้านจะพบในป่าเบญจพรรณทางภาคใต้ด้วย โดยขึ้นในที่สูงจากระดับน้ำทะเล 100-600 เมตร ส่วนในพม่าพบขึ้นอยู่ตามพื้นที่ราบหรือเนินสูงต่ำ และพบขึ้นในที่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 750 เมตร7
อ้างอิง
http://www.dnp.go.th/EPAC/province_plant/chon.htm
ไม่มีความคิดเห็น:
ไม่อนุญาตให้มีความคิดเห็นใหม่